ประวัติผู้จัดการโรงเรียนปริยัติสามัญวัดไพรสณฑ์ศักดารามรูปปัจจุบัน

๑. ชื่อ      พระปริยัติพัชราภรณ์    ฉายา  ปญฺญาธโร   อายุ  ๖๓    พรรษา  ๔๓   วิทยฐานะ  น.ธ.เอก
               ป.ธ.๖, พ.ม. , M. Ed.   สาขาบริหารการศึกษา  มหาวิทยาลัยไมซอร์  ประเทศอินเดีย


                ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง
                     
               ๑. เจ้าอาวาสวัดไพรสณฑ์ศักดาราม  (พระอารามหลวง)
               ๒. รองเจ้าคณะจังหวัดเพชรบูรณ์  ฝ่ายศาสนศึกษา
               ๓. ประธานกรรมการบริหารโครงการขยายมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
                   คณะพุทธศาสตร์ ห้องเรียนจังหวัดเพชรบูรณ์ วัดไพรสณฑ์ศักดาราม อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์
               ๔. พระอุปัชฌาย์

๒. สถานะเดิม   
               
ชื่อ  สุพจน์  นามสกุล  บุญทศ    เกิดวันที่  ๑๕  กุมภาพันธ์  พ.ศ. ๒๔๘๔
               ตรงกับวันอาทิตย์  แรม ๑  ค่ำ  เดือน  ๔  ปีมะเส็ง   ณ  บ้านเลขที่  ๑๓  หมู่ที่ ๙
               ต.กระจาย  อ.คำเขื่อนแก้ว  จ.อุบลราชธานี

๓. บรรพชา  
             ณ  วันที่ ๑  เมษายน  พ.ศ. ๒๔๙๗ 
             ณ  วัดบ้านหนองบาก  ต.กระจาย  อ.คำเขื่อนแก้ว จ.อุบลราชธานี 
             โดยมี  พระอธิการเต็ม  ปริปุณฺโณ   เป็นพระอุปัชฌาย์

๔. อุปสมบท  

               ณ  วันที่  ๒๙  เมษายน  พ.ศ. ๒๕๐๕  
               ณ  วัดบ้านหนองบาก  ต.กระจาย อ.คำเขื่อนแก้ว  จ.อุบลราชธานี  (ปัจจุบันเป็น อ.ป่าติ้ว   จ.ยโสธร)
               โดยมี  พระครูสุทธิรัตนโสภณ  เป็นพระอุปัชฌาย์  
               พระสมุห์หา  ปภากโร   เป็นพระกรรมวาจาจารย์   
               พระครูโสภณรัตนธรรม   เป็นพระอนุสาวนาจารย์

๕. วิทยฐานะ  
              พ.ศ. ๒๔๙๗ จบประถมบริบูรณ์  
                                  จากโรงเรียนประชาบาลบ้านหนองบาก ต.กระจาย อ.คำเขื่อนแก้ว จ.อุบลราชธานี  
                                  (ปัจจุบัน อ.ป่าติ้ว  จ.ยโสธร)
              พ.ศ.๒๕๑๙  จบปริญญาโท สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยไมซอร์ ประเทศอินเดีย
              พ.ศ. ๒๕๐๕  สอบได้นักธรรมชั้นเอก  จากสำนักเรียนคณะจังหวัดอุบลราชธานี 
              พ.ศ. ๒๕๑๒  สอบได้เปรียญธรรม ๖  ประโยค  จากสำนักเรียนคณะจังหวัดเพชรบูรณ์

๖. งานการปกครอง 
               ๖.๑   พ.ศ. ๒๕๒๐  เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไพรสณฑ์ศักดาราม  (อารามราษฎร์)
               ๖.๒  พ.ศ. ๒๕๒๒  เป็นรองเจ้าอาวาสวัดไพรสณฑ์ศักดาราม (พระอารามหลวง)
               ๖.๓  พ.ศ. ๒๕๒๒  เป็นเจ้าคณะอำเภอหล่มเก่า
               ๖.๔  พ.ศ. ๒๕๒๕  เป็นเจ้าอาวาสวัดสระเกศ
               ๖.๕  พ.ศ. ๒๕๔๑  เป็นเจ้าอาวาสวัดไพรสณฑ์ศักดาราม  (พระอารามหลวง)
               ๖.๖  พ.ศ. ๒๕๔๒  เป็นรองเจ้าคณะจังหวัดเพชรบูรณ์

๗. งานการปกครองภายในวัดไพรสณฑ์ศักดาราม  (พระอารามหลวง)
               ๗.๑   ดำเนินการแต่งตั้งผู้ช่วยเจ้าอาวาส  จำนวน ๓ รูป 
                        เพื่อแบ่งเบางานการปกครองการศึกษาการเผยแพร่  การสาธารณูปการ  เป็นต้น
               ๗.๒  แบ่งการปกครองออกเป็น  ๑๕  คณะ  มีหัวหน้าคณะและผู้ช่วยหัวหน้าคณะ
                        เพื่อตรวจตราดูแลพระภิกษุสามเณรในคณะให้ประพฤติดีปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัย

๘. งานการศึกษา
                พ.ศ.  ๒๕๒๓   ดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนปริยัติธรรม   แผนกบาลีในวัดสระเกศ
                                      - เป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนปริยัติธรรมวัดสระเกศ
                                      - เป็นกรรมการ  อำนวยการสอบบาลีสนามหลวง  จังหวัดเพชรบูรณ์
                พ.ศ.  ๒๕๒๕   ดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนปริยัติธรรม  แผนกสามัญศึกษาในวัดสระเกศ
                พ.ศ.  ๒๕๒๕   เป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนปริยัติสามัญศึกษาวัดสระเกศ
                พ.ศ. ๒๕๔๒    เป็นรองเจ้าคณะจังหวัดเพชรบูรณ์   ฝ่ายการศึกษา
                พ.ศ. ๒๕๔๒    เป็นผู้จัดการโรงเรียนปริยัติสามัญวัดไพรสณฑ์ศักดาราม
                พ.ศ. ๒๕๔๔    เป็นประธานกรรมการบริหารโครงการขยายห้องเรียนมหาวิทยาลัย
                                      มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย คณะพุทธศาสตร์ ห้องเรียนจังหวัดเพชรบูรณ์
                                      วัดไพรสณฑ์ศักดาราม อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์

                พ.ศ. ๒๕๔๒    มีนักเรียนแผนกธรรม ดังนี้
                                      น.ธ.ตรี     ๕๔    รูป   เข้าสอบ   ๕๔ รูป    สอบได้  ๔๔  รูป   สอบตก  ๑๐  รูป
                                      น.ธ.โท     ๓๒   รูป    เข้าสอบ   ๓๒ รูป    สอบได้  ๒๕  รูป   สอบตก    ๗ รูป
                                      น.ธ.เอก    ๒๑   รูป    เข้าสอบ   ๒๑  รูป    สอบได้  ๑๘  รูป   สอบตก    ๓ รูป
               
               พ.ศ. ๒๕๔๒      มีนักเรียนแผนกบาลี  ดังนี้
                                       ประโยค ๑-๒     จำนวน ๔๔ รูป      เข้าสอบ   ๔๔  รูป    สอบได้  ๑๕  รูป   สอบตก   ๒๙  รูป
                                       ประโยค ป.ธ ๓    จำนวน ๑๘ รูป     เข้าสอบ   ๑๘  รูป    สอบได้    ๘   รูป  สอบตก  ๑๐  รูป
                                       ประโยค ป.ธ ๔    จำนวน   ๘ รูป      เข้าสอบ     ๘  รูป    สอบได้    ๕   รูป  สอบตก   ๓   รูป

               พ.ศ. ๒๕๔๓      มีนักเรียนแผนกธรรม  ดังนี้
                                       น.ธ.ตรี     ๕๔   รูป   เข้าสอบ   ๕๔       รูป  สอบได้  ๔๘  รูป   สอบตก    ๖ รูป
                                       น.ธ.โท     ๓๗  รูป   เข้าสอบ   ๓๗       รูป   สอบได้  ๓๐  รูป   สอบตก    ๗ รูป
                                       น.ธ.เอก     ๑๗ รูป   เข้าสอบ   ๑๗        รูป   สอบได้  ๙  รูป      สอบตก    ๘ รูป

               พ.ศ. ๒๕๔๓      มีนักเรียนแผนกบาลี  ดังนี้
                                       ประโยค ๑-๒     จำนวน ๖๒ รูป     เข้าสอบ   ๖๒  รูป    สอบได้  ๓๔  รูป   สอบตก   ๒๘  รูป
                                       ประโยค ป.ธ ๓   จำนวน ๒๔ รูป    เข้าสอบ   ๒๔  รูป    สอบได้   ๑๑ รูป  สอบตก  ๑๓  รูป
                                       ประโยค ป.ธ ๔   จำนวน  ๑๑ รูป   เข้าสอบ    ๑๑  รูป   สอบได้    ๕    รูป  สอบตก   ๖   รูป

               พ.ศ. ๒๕๔๔      มีนักเรียนแผนกธรรม  ดังนี้
                                       น.ธ.ตรี     ๔๓       รูป     เข้าสอบ   ๔๓       รูป สอบได้  ๓๑  รูป   สอบตก    ๑๒    รูป
                                       น.ธ.โท     ๒๘    รูป       เข้าสอบ   ๒๘       รูป สอบได้  ๑๕ รูป   สอบตก     ๑๓    รูป
                                       น.ธ.เอก     ๑๖    รูป     เข้าสอบ   ๑๖         รูป  สอบได้  ๑๑  รูป    สอบตก    ๕     รูป

               พ.ศ. ๒๕๔๔       มีนักเรียนแผนกบาลี  ดังนี้
                                        ประโยค ๑-๒     จำนวน ๓๑ รูป    เข้าสอบ   ๓๑  รูป   สอบได้  ๑๘  รูป  สอบตก   ๑๓  รูป
                                        ประโยค ป.ธ ๓   จำนวน ๒๑ รูป   เข้าสอบ   ๒๑  รูป   สอบได้    ๙    รูป  สอบตก  ๑๒  รูป
                                        ประโยค ป.ธ ๔    จำนวน  ๑๑ รูป เข้าสอบ    ๑๑  รูป   สอบได้    ๘    รูป  สอบตก    ๓   รูป
 
               พ.ศ. ๒๕๔๕       มีนักเรียนแผนกธรรม  ดังนี้
                                        น.ธ.ตรี     ๖๐  รูป   เข้าสอบ   ๖๐ รูป    สอบได้  ๔๐  รูป   สอบตก    ๒๐    รูป
                                        น.ธ.โท     ๓๑ รูป   เข้าสอบ   ๓๑ รูป    สอบได้  ๒๑  รูป   สอบตก    ๑๐     รูป
                                        น.ธ.เอก    ๑๕  รูป  เข้าสอบ   ๑๕  รูป    สอบได้   ๗   รูป   สอบตก    ๘    รูป

               พ.ศ. ๒๕๔๕      มีนักเรียนแผนกบาลี  ดังนี้
                                       ประโยค ๑-๒     จำนวน ๔๐ รูป  เข้าสอบ   ๔๐  รูป    สอบได้  ๒๒  รูป สอบตก   ๑๘  รูป
                                       ประโยค ป.ธ ๓    จำนวน ๑๕ รูป เข้าสอบ   ๑๕  รูป    สอบได้   ๘    รูป    สอบตก  ๗     รูป
                                       ประโยค ป.ธ ๔    จำนวน  ๗ รูป   เข้าสอบ    ๗   รูป     สอบได้    ๓    รูป  สอบตก    ๔   รูป

               พ.ศ. ๒๕๔๖     มีนักเรียนแผนกธรรม  ดังนี้
                                      น.ธ.ตรี     ๖๔ รูป    เข้าสอบ   ๖๔ รูป           สอบได้  ๓๔  รูป   สอบตก    ๓๐ รูป
                                      น.ธ.โท     ๓๒ รูป   เข้าสอบ   ๓๒ รูป           สอบได้  ๒๖   รูป   สอบตก    ๖    รูป
                                      น.ธ.เอก    ๑๕ รูป เข้าสอบ   ๑๕  รูป           สอบได้  ๙  รูป       สอบตก     ๖      รูป

               พ.ศ. ๒๕๔๖     มีนักเรียนแผนกบาลี  ดังนี้
                                      ประโยค ๑-๒     จำนวน ๓๔ รูป   เข้าสอบ   ๓๔  รูป  สอบได้  ๒๑  รูป  สอบตก   ๑๓  รูป
                                      ประโยค ป.ธ ๓    จำนวน ๑๘ รูป  เข้าสอบ   ๑๘  รูป    สอบได้    ๙    รูป  สอบตก   ๙   รูป
                                      ประโยค ป.ธ ๔    จำนวน   ๘ รูป      เข้าสอบ    ๘  รูป      สอบได้    ๓    รูป  สอบตก  ๕  รูป

๙.วิธีส่งเสริมการศึกษา
๙.๑  พ.ศ. ๒๕๒๔  ดำเนินการจัดตั้งมูลนิธิพระปริยัติธรรมวัดสระเกศ  โดยได้รับเมตตา    
        อนุเคราะห์เป็นทุนเริ่มต้นจาก  เจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
       (ฟื้น   ชุตินฺธโร)  วัดสามพระยา  จำนวน  ๑๐,๐๐๐  บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน)  และ
        ประชาชนบริจาคเพิ่มเติมจนครบจำนวนตามระเบียบของทางราชการและขอจด 
        ทะเบียนเป็นนิติบุคคลเมื่อ  พ.ศ. ๒๕๒๕  ปัจจุบันนี้มีทุนทั้งสิ้น  ๘๓๒,๔๓๘.๓๔
        บาท  (แปดแสนสามหมื่นสองพันสี่ร้อยสามสิบแปดบาทสามสิบสตางค์) 
       โดยนำ ดอกผลมาใช้บำรุงส่งเสริมการศึกษาปริยัติธรรมในวัดสระเกศ  และวัดอื่น ๆ ที่
        กรรมการพิจารณาเห็นสมควร
๙.๒  มอบอุปกรณ์การศึกษาแกพระภิกษุสามเณรผู้เข้าศึกษาในสำนักศาสนาศึกษาวัด
         สระเกศ
๙.๓  มอบรางวัลเรียนดี  ประพฤติดี  แก่นักเรียนปริยัติธรรม
๙.๔  จัดนักเรียนเข้าเรียนในชั้นสูง ณ สถาบันการศึกษาชั้นสูงของคณะสงฆ์ เช่น 
         มหาวิทยาลัย  มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  ในพระบรมราชูปภัมภ์
๙.๕  ส่งเสริมให้นักเรียนผู้เรียนดี  และตั้งใจไปศึกษาต่อในประเทศอินเดีย  โดยใช้ดอกผล
         ของมูลนิธิพระปริยัติธรรมวัดสระเกศ
๙.๖  มอบทุนการศึกษาแก่พระภิกษุสามเณร  ปีละไม่น้อยกว่า  ๑๕,๐๐๐ บาท

๑๐.  งานศึกษาสงเคราะห์

        ๑๐.๑  จัดตั้งกองทุนบุญนิธิพระปริยัติพัชราภรณ์นำดอกผลมาจัดเป็นกองทุนการศึกษาแก่
                   นักเรียนระดับประถมศึกษา  และมัธยมศึกษาปีละ  ๓๐ ทุน ๆ ละ ๕๐๐ บาท  เป็นเงินปีละ ๑๕,๐๐๐  บาท 
         ๑๐.๒  พ.ศ. ๒๕๒๔  ถึงปัจจุบัน  ได้ดำเนินการตั้งศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
                   ขั้นที่วัดสระเกศ  มีนักเรียนไม่น้อยกว่า  ๒๐๐ คน  ต่อปี  และมอบทุนการศึกษา
                   ให้แก่นักเรียนในโรงเรียนนี้ไม่น้อยกว่า  ๕,๐๐๐ บาท  ต่อปี
         ๑๐.๓  จัดมอบอุปกรณ์การศึกษาแก่โรงเรียนอนุบาลสุภาพวิทยา  และอนุบาลบูรณวิทยาทุก ๆ ปี ๆ ละ ๕,๐๐๐ บาท

๑๑.  งานการเผยแผ่   
 
พ.ศ. ๒๕๒๒ – ถึงปัจจุบัน  ได้รับอาราธนาเป็นวิทยากรอบรมช่างจากทั่วประเทศจากศูนย์สร้างทางหล่มสัก จ. พชรบูรณ์
พ.ศ. ๒๕๓๕ – ๒๕๔๐  ได้รับอาราธนาบรรยายธรรมทางวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย   จังหวัดเพชรบูรณ์
พ.ศ. ๒๕๒๓ – ๒๕๔๐  เป็นวิทยากรทำหน้าที่อบรมข้าราชการ  นักเรียน  นักศึกษา  และ
                      ลูกเสือชาวบ้าน  และสมาชิกกองหนุนเพื่อความมั่นคงแห่งประเทศชาติ  ของทางราชการเป็นประจำ
พ.ศ. ๒๕๒๓ – ถึงปัจจุบัน  เป็นหัวหน้าพระธรรมทูตออกเผยแพร่ธรรมในเขตอำเภอ
                      หล่มเก่า-น้ำหนาว-หล่มสัก  ตามที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าคณะจังหวัดเพชรบูรณ์

-  มีการทำพิธีมาฆบูชา  ทุก ๆ ครั้ง  ซึ่งมีพระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์  ประมาณครั้งละไม่น้อยกว่า  ๒๐๐  ราย  เข้าร่วมพิธี
-  มีการทำพิธีวิสาขบูชา-อาสาฬหบูชาทุก ๆ ครั้ง มีผู้เข้าร่วมทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ครั้งละไม่น้อยกว่า  ๒๐๐ ราย
-  มีการอบรมพระภิกษุสามเณรในวัดไพรสณฑ์ศักดารามทุกวัยธรรมสวนะตลอดมา
-  มีการแสดงธรรมอบรมประชาชน  ผู้มาทำบุญที่วัดไพรสณฑ์ศักดาราม  และในงานต่าง ๆ  ในสังคมเสมอมา
-  มีผู้มารักษาอุโบสถ-ฟังธรรม  ปฏิบัติกัมมัฎฐานในวัดทุกวันธรรมสวนะ
- จัดตั้งศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดไพรสณฑ์ศักดารามฯ นักเรียนเข้าร่วมไม่น้อยกว่า  ๒๐๐ คน  ทุก ๆ ปี
- จัดตั้งหน่วยสงเคราะห์พุทธมามกะผู้เยาว์  มีนักเรียนระดับอนุบาล  ระดับประถมระดับมัธยม
- จัดกิจกรรมเผยแพร่กตัญญูกตเวทิตาธรรม  ในวันที่  ๑๒  สิงหามหาราชินี  วันที่ ๕ ธันวาคม  และวันสงกรานต์ทุก ๆ ปี
- จัดกิจกรรมบรรพชา-อุปสมบทภาคฤดูร้อนทุกปี
- มีผู้มาทำบุญที่วัดไพรสณฑ์ศักดารามตลอดปี

๑๒.  งานสาธารณูปการ

๑๒.๑  พ.ศ. ๒๕๓๕-๒๕๓๗  ดำเนินการก่อสร้างอุโบสถแทนหลังเก่า  ที่คร่ำคร่า 
          กว้าง ๙ เมตร  ๙ นิ้ว  ยาว ๒๕ เมตร ๙ นิ้ว   สูง  ๒๓  เมตร  ๙ นิ้ว  สิ้นทุนทรัพย์
          ทั้งสิ้น  ๘,๖๓๕,๓๐๒. บาท (แปดล้านหกแสนสามหมื่นห้าพันสามร้อยสองบาทถ้วน)
๑๒.๒  พ.ศ.๒๕๓๗  ดำเนินการก่อสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรมหลังที่ ๑ เป็นคอนกรีต
           เสริมเหล็ก ๓ ชั้น ๑๒ ห้องเรียน  กว้าง ๑๓ เมตร  ยาว ๒๘ เมตร สูง ๑๘ เมตร   สิ้น
           ทุนทรัพย์  ๔,๕๕๐,๐๐๐. บาท  (สี่ล้านห้าแสนห้าหมื่นบาทถ้วน)
๑๒.๓  พ.ศ. ๒๕๓๖-๒๕๓๗  ดำเนินการก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กภายในวัด
           สระเกศ  กว้าง  ๕.๕๐ เมตร  ยาว ๒.๕๐๒ เมตร  สิ้นทุนทรัพย์  ๑,๒๕๔,๓๕๐.
           บาท  (หนึ่งล้านสองแสนห้าหมื่นสี่พันสามร้อยห้าสิบบาทถ้วน)
๑๒.๔  พ.ศ.  ๒๕๓๖-๒๕๓๗  ดำเนินการก่อสร้างศาลาอเนกประสงค์  กว้าง ๑๓ เมตร
           ยาว ๒๐ เมตร  สูง ๑๒ เมตร  แบบทรงไทย  คอนกรีตเสริมเหล็ก สิ้นทุนทรัพย์
           ๗๘๙,๒๕๒.บาท  (เจ็ดแสนแปดหมื่นเก้าพันสองร้อยห้าสิบสองบาทถ้วน)
๑๒.๕  พ.ศ. ๒๕๓๖-๒๕๓๘  ดำเนินการก่อสร้างหอกลอง  หอฆ้อง  หอระฆัง หอโปง
           ที่ ๔ มุมของกำแพงแก้วรอบอุโบสถ  รวม ๔ หลัง  แบบบุษบกมียอดประดับลาย
            ไทยสวยงามเป็นสง่า  แก่พระพุทธศาสนา  รวมค่าก่อสร้างทั้งสิ้น  ๖๐๐,๐๐๐.บาท(หกแสนบาทถ้วน)
๑๒.๖  พ.ศ. ๒๕๓๗-๒๕๓๘  ดำเนินการก่อสร้างกุฏิสงฆ์ ๑ หลัง ๒ ชั้น คอนกรีตเสริม
           เหล็ก  ทรงไทยมุงกระเบื้องซีแพก ๗ ห้องนอน กว้าง ๙ เมตร ยาว ๒๑ เมตร  สิ้น
           ทุนทรัพย์  ๑,๘๕๔,๕๐๖.บาท (หนึ่งล้านแปดแสนห้าหมื่นสี่พันห้าร้อยหกบาทถ้วน)
๑๒.๗  พ.ศ. ๒๕๓๘  ดำเนินการก่อสร้างห้องสมุดประจำอุทยานการศึกษาวัดสระเกศ
           ๑ หลัง  เป็นอาคารคอนกรีต  ยาว ๑๒ เมตร  กว้าง ๘ เมตร  สูง ๑๐ เมตร  สิ้นทุน
           ทรัพย์  ๓๔๕,๓๒๐.บาท  (สามแสนสี่หมื่นห้าพันสามร้อยยี่สิบบาทถ้วน)
๑๒.๘  พ.ศ. ๒๕๓๙- ๒๕๔๐  ดำเนินการก่อสร้างหอประชุมอบรมสงฆ์โรงเรียนพระปริยัติธรรม
          (เจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์อุปถัมภ์)  วางศิลาฤกษโดยเจ้าคณะใหญ่หนเหนือ
          เป็นประธานวางศิลาฤกษ์ ในวันที่ ๒๕  เมษายน
          เวลา  ๑๐.๓๙  น. เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก  กว้าง ๑๔ เมตร  ยาว
          ๓๙ เมตร  สูง ๓ ชั้น  หลังคาทรงไทย  ประดับลวดลายไทย  บัวหัวเสา นาคคันทวย
          ประดับลายปูนปั้น  หน้าบัน ๓ ชุด ปิดกระจก  ปิดทองสวยสง่างาม  สิ้นทุนทรัพย์
          ไปแล้ว ๖,๗๘๙,๘๖๕.บาท  (หกล้านเจ็ดแสนแปดหมื่นเก้าพันแปดร้อยหกสิบห้าบาทถ้วน)
           รวมการก่อสร้างเสนาสนะสงฆ์ในวัดสระเกศ  ๒๔,๘๑๘,๕๙๕.บาท
           (ยี่สิบสี่ล้านแปดแสนหนึ่งหมื่นแปดพันห้าร้อยเก้าสิบห้าบาทถ้วน)

๑๓. งานบำเพ็ญสาธารณประโยชน์
                ๑๓.๑  จัดการรวบรวมข้าวสารอาหารแห้งและเครื่องยังชีพอื่น ๆ ช่วยเหลือบรรเทาทุกข์
                          แก่ผู้เดือดร้อยจากวาตภัย  อุทกภัย  อัคคีภัย  ตามโอกาสนั้นสม่ำเสมอมิได้ขาด
                ๑๓.๒  สงเคราะห์แก่พระภิกษุสามเณรผู้อาพาธทั้งที่จำพรรษาภายในวัดสระเกศและนอก
                           วัดสระเกศเสมอมามิได้ขาด
                ๑๓.๓  จัดหาทุนทรัพย์ส่งเข้าสบทบทุน  ในกองทุนต่าง ๆ  ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์
                          พระบรมราชินีนาถ  ทุก ๆ ปี ๆ ละไม่น้อยกว่า  ๕,๐๐๐ บาท

๑๔.  งานพิเศษ

                ๑๘.๑  เป็นวิทยากรอบรมข้าราชการในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์
                ๑๘.๒  เป็นผู้บรรยายธรรมทางวิทยุกระจายเสียง  ๙๒๑  กรป.กลางทุกวันอาทิตย์
                           เวลา  ๑๗.๓๐- ๑๘.๐๐  น.  ตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๕๓๘ จนถึงปัจจุบัน
                ๑๘.๓  เป็นผู้บรรยายธรรมในรายการพุทธภาษิตสะกิดใจทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่ง
                          ประเทศไทย  จังหวัดเพชรบูรณ์  ทุกเช้า  เวลา  ๐๖.๓๐ น.  ทุกวัน  ตั้งแต่ปี ๒๕๓๘ถึงปัจจุบัน
                ๑๘.๔  เป็นวิทยากรอบรมลูกเสือชาวบ้าน  ของจังหวัดเพชรบูรณ์  ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๐ จนถึงปัจจุบัน

๑๕.  สมณศักดิ์   
                ๕  ธันวาคม  ๒๕๒๕   ได้รับพระราชทานแต่งตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นพิเศษที่ “พระครูบุรเขตพิทักษ์ ”
                ๕  ธันวาคม  ๒๕๓๕   ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ “พระปริยัติพัชราภรณ์ ”




โรงเรียนปริยัติสามัญวัดไพรสณฑ์ศักดาราม
-----------------------------
91  ถนนพิทักษ์  ตำบลหล่มสัก   อำเภอหล่มสัก  จังหวัดเพชรบูรณ์ 67110
โทรฯ : 0 5670 1480,   0 5670 2269
Free Web Hosting